การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการขับรถ

การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการขับรถ

การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการขับรถ

ผมได้มีโอกาสดูช่องรายการทีวีดาวเทียมที่บ้าน เป็นสารคดีเกี่ยวกับรถฟอร์มูล่าวัน เนื้อหานั้นครอบคลุมมาก ตั้งแต่การวิจัย พัฒนา การเตรียมตัวของทั้งทีมงานและตัวนักแข่งเอง ซึ่งมีอยู่เนื้อหาหนึ่งมีใจความที่สนับสนุนและสอดคล้องกับแนวคิดของผม กล่าวคือการขับรถของนักแข่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ไม่ใช่แค่ว่ารถมีแรงม้าสูง มีความเร็วสูง แล้วใครๆ ก็ขับได้ ถ้าเรามองแค่ผิวเผินแล้ว คือใครทำเวลาได้ดีที่สุดก็เป็นผู้ชนะนั้นไม่ผิดหรอกครับ แต่เบื้องหลังนั้นยากมาก

จากการสัมภาษณ์ นักขับรถแข่งเค้าอธิบายว่า เวลาเราขับรถแข่ง ร่างกายและพลังสมองของเราต้องพร้อมตลอดเวลา เมื่อเวลาเราเข้าโค้งต้องมีการคำนวณว่าต้องใช้กี่องศาและใช้ความเร็วเท่าไหร่ถึงจะทำเวลาได้ดีที่สุด เพราะทุกเสี้ยววินาทีนั้นสำคัญ การใช้ความเร็วที่สูงเกินไปไม่สามารถทำเวลาได้ดีกว่า แต่ความเร็วที่เหมาะสมและองศาในการเข้าโค้งนั้นจะทำเวลาได้ดีที่สุด นอกจากนี้นักแข่งรถต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับรถแข่งหรือเปรียบเสมือนว่าตัวเรานั้นเป็นรถฟอร์มูล่าวัน มิฉะนั้นแล้วโอกาสผิดพลาดจะมีสูงมาก และเมื่อเราทำผิดพลาดแล้วหมายถึงชีวิตเราเป็นเดิมพัน

หลักการทางฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และ ศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาในการขับรถ

นักวิจัยกล่าวว่า สมองคนเราก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ ที่ต้องรับเอาโปรแกรม และอัพเดตฐานข้อมูลตลอดเวลา เมื่อเราขับรถที่ความเร็ว 370 กม./ ชม. นอกจากแรง G ที่มีอยู่ถึง 4G แล้ว เท่าที่ผมจำได้ถ้าเกิดแรง G ที่ประมาณ 5-6 G จะทำให้คนที่อยู่ในสถาณการณ์ ถึงกับสลบและหมดสติได้ นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เวลาเราขับรถเดินทางไกลและเป็นเวลานานๆ จะทำให้เราเมื่อยล้า หรือบางครั้งจะทำให้เราเบลอ เพราะแค่เราขับรถที่ความเร็ว 60 กม./ชม. จะทำให้เกิดแรง G ที่ประมาณ 0.85 G แล้ว การอยู่กับรถที่มีความเร็วสูง และเจอแรงเหวี่ยงตลอดเวลา จะเกิดภาพลวงตากับตัวนักแข่ง และเกิดปรากฏการณ์ภาพซ้อนภาพขึ้นที่สมอง มันเป็นกฏทางฟิสิกส์อย่างหนึ่ง

มีอยู่ช่วงหนึ่งนักแข่งรถได้สาธิตกับอาสาสมัครว่า เวลาเราเข้าโค้งที่ความเร็วสูงมากจะเปรียบเสมือนว่ามีคนน้ำหนักประมาณ 60-70 กก. มาเหยียบที่ศีรษะด้านข้างของเรา ซึ่งแน่นอนว่ามันเจ็บและเวียนหัวมาก การอยู่กับรถที่มีความเร็วสูง 370 กม./ชม. จะทำให้เราเจ็บปวดบริเวณกระดูกต้นคอด้วย นั่นคือเหตุผลที่นักขับรถแข่งต้องออกกำลังกายและฟิตซ้อมเหมือนๆ กับนักกีฬาทั่วไป

นอกจากนี้ครูฝึก และนักวิจัยจะมีการทดสอบ และฝึกประสาทสัมผัสของนักแข่ง โดยการให้ฟังดนตรีเพลงที่กำหนดโดยนักวิจัย โดยการกดปล่อยเข็มนาฬิกาคอมพิวเตอร์ ฝึกทำสมาธิ และการใช้การจินตนาการในการแข่งรถ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการขับรถแข่ง หรือขับรถเดินทางไกลแล้ว เราต้องนำศาสตร์การคำนวณเหล่านี้ ศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในชีวิตและทรัพย์สินของเรา ขอให้โชคดีทุกคนครับ.

ความคิดเห็น